AI ในชีวิตประจำวัน ถ้าพูดถึง “Artificial Intelligence (AI)” หรือที่แปลเป็นไทยว่า “ระบบปัญญาประดิษฐ์” หลายคนอาจนึกไปถึงหุ่นยนต์ หรือ สิ่งประดิษฐ์แสนไฮเทคอย่างในภาพยนตร์ไซไฟ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ปัจจุบัน AI ซ่อนอยู่ในสิ่งของหรือบริการที่ใช้กันโดยทั่วไป และอยู่ร่วมกับชีวิตประจำวันของคนเราได้อย่างกลมกลืน ไม่ว่าจะเป็นการที่เราค้นหาข้อมูล ระบบ AI ก็จะจดจำข้อมูลของเราไว้ ทำให้ในครั้งต่อ ๆ ไป เราแค่พิมพ์ตัวอักษร 1-2 ตัว เราจะเจอประโยคที่เราเคยเสิร์ชทันที และ AI ในชีวิตประจำวันยังมีอีกมากมาย ยกตัวอย่าง…
ระบบช่วยเหลือลูกค้าออนไลน์
1. ระบบช่วยเหลือลูกค้าออนไลน์
เว็บไซต์ปัจจุบันมักมีระบบแชทที่คอยตอบปัญหาหรือช่วยเหลือลูกค้าได้แบบออนไลน์ ซึ่งผู้ที่คอยตอบนั้น ก็ล้วนมีทั้งพนักงานที่เป็นมนุษย์ หรือว่าเป็น “Chatbot” ซึ่งเป็น AI ที่จะคอยช่วยเหลือลูกค้าได้ 24 ชั่วโมง เหมาะสำหรับการตอบคำถามที่ถูกถามบ่อย ได้ประโยชน์ทั้งลดปริมาณงานของพนักงาน Call Center หรือ เจ้าของธุรกิจที่จะต้องคอยตอบคำถามเหล่านั้น และ ลูกค้าก็ได้รับคำตอบที่ต้องการอย่างรวดเร็วเช่นกัน
2. ผู้ช่วยเสมือนจริง
ผู้ใช้สมาร์ทโฟนคงคุ้นเคยกันดีกับ “Siri” ที่เป็นระบบผู้ช่วยเสมือนจริงแบบสั่งงานด้วยเสียงในอุปกรณ์ของ Apple หรือ Google Assistant ซึ่งแน่นอนว่าผู้ช่วยไฮเทคนี้ก็เป็น AI เช่นกัน ขับเคลื่อนด้วยระบบประมวลภาษาธรรมชาติ ที่จะวิเคราะห์คำสั่งหรือความต้องการของผู้ใช้ผ่านภาษาที่พูดกันโดยปกติ ให้ AI สามารถเข้าใจและสร้างประโยคเพื่อตอบคำถามหรือทำในสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
3. ระบุตัวตนด้วย AI
การระบุตัวตนด้วยไบโอเมทริกซ์ ยกตัวอย่าง ม่านตา เสียง ลายนิ้วมือ หน้า ภาษากาย ถือเป็นส่วนหนึ่งของการนำเทคโนโลยี AI ที่ใช้ไบโอเมทริกซ์ในการจดจำรูปแบบและแยกแยะ มาใช้เพื่อยืนยันตัวตนหรือระบุตัวตนได้ ซึ่งหลาย ๆ อย่างก็อยู่ในชีวิตประจำวันของเราอยู่แล้ว อย่างการสแกนลายนิ้วมือเพื่อบันทึกเวลาแทนการตอกบัตร การสแกนม่านตาเพื่อเข้าใช้งานสมาร์ทโฟน เป็นต้น
ตอบโต้ด้วยเสียง จากระบบรู้จำและสังเคราะห์เสียงพูด
4. ตอบโต้ด้วยเสียง จากระบบรู้จำและสังเคราะห์เสียงพูด (Speech Recognition and Synthesis)
เรียกได้ว่าเป็นอีกระบบที่สามารถทำงานร่วมกับระบบ NLP เพื่อให้เราสามารถตอบโต้กับคอมพิวเตอร์ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรมชาติยิ่งขึ้น
5. ระบบอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีหุ่นยนต์ (Robotic Process Automation)
เทคโนโลยีหุ่นยนต์ถูกนำมาใช้ในวงการอุตสาหกรรมมาอย่างยาวนาน แต่การนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาประยุกต์ใช้กับภาคธุรกิจ หรือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันยังคงอยู่ในวงจำกัด ที่สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น หุ่นยนต์ทำความสะอาด หุ่นยนต์พนักงานต้อนรับ หรือรถที่สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง
เข้าถึงทุกบริการ ด้วยผู้ช่วยเสมือนจริง
6. เข้าถึงทุกบริการ ด้วยผู้ช่วยเสมือนจริง (Virtual Agents)
คือเทคโนโลยีที่ทำให้เราสามารถเข้าถึงคลังความรู้หรือบริการต่าง ๆ ได้อย่างไม่รู้จบ เช่น Siri สามารถเข้าถึงและเข้าใจตารางงาน อีเมล ปฏิทิน นาฬิกา ใน Smart Phone ของเรา หรือ Alexa สามารถเข้าถึงบริการของ Amazon หรือ Smart Home Device ของเราได้
รู้จักภาษาที่มนุษย์ใช้ ด้วยระบบประมวลภาษาธรรมชาติ (NLP)
7. รู้จักภาษาที่มนุษย์ใช้ ด้วยระบบประมวลภาษาธรรมชาติ (NLP)
NLP คือเทคโนโลยีที่จะช่วยทำให้เราสามารถปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ เทคโนโลยี NLP จะทำการวิเคราะห์คำสั่งหรือความต้องการของผู้ใช้ผ่านภาษาธรรมชาติ อาทิ Google นำ NLP มาช่วยให้การค้นหาเอกสารใน Google Drive และทำเรื่องยาก ๆ ให้เป็นเรื่องง่าย (Decision Management) การโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้ทำงานตามกฎที่เราตั้งไว้ นั่นก็คือความสามารถพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ แต่เทคโนโลยี AI สามารถนำมาใช้ช่วยในการตัดสินใจเพื่อหาทางเลือกที่คุ้มค่าที่สุด มีความเสี่ยงน้อยที่สุดหรือใช้เวลาน้อยที่สุดได้
จากการยกตัวอย่างข้างต้น AI เข้ามาในชีวิตประจำวันของเราอย่างเห็นได้ชัด และในอนาคตต่อไประบบ AI จะเข้ามามีอิทธิพลในทุก ๆ ช่องทาง หรือหุ่นยนต์จะเข้ามาแทนที่งานทั้งหมดของเรา ???
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การปฏิวัติเทคโนโลยีในแต่ละครั้งนั้นได้สร้างงานให้เกิดขึ้นมากกว่าที่จะทำลายล้าง ไม่ว่าจะพิจารณาไปที่การปฏิวัติอุตสาหกรรม หรือการเพิ่มจำนวนการใช้งานอินเทอร์เน็ต
ในตอนท้าย ผู้คนมากขึ้นจะมีงานเพิ่มขึ้นกว่าที่เคยมีมาก่อน และมักจะได้รับค่าตอบแทนที่ดีกว่าเดิมเนื่องจากสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ข้อดีของ AI จะมีมากกว่าข้อเสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้คนได้รับค าพเพิ่มมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ข้อดีของ AI จะมีมากกว่าข้อเสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้คนได้รับความช่วยเหลือและสนับสนุนในการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ที่พวกเขาจะต้องทำงานควบคู่ไปกับระบบอัจฉริยะต่าง ๆ
อีกทั้ง… การพัฒนาด้านเทคโนโลยีมักใช้เวลานานกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ในตอนต้นและเครื่องที่มีสติปัญญาทั่วไปเหมือนมนุษย์อาจต้องใช้เวลาพัฒนาอีกหลายทศวรรษจึงจะเป็นจริงได้ทั้งหมด ดังนั้นสถานการณ์ที่เป็นไปได้ในตอนนี้ก็คือมนุษย์และ เอไอ จะต้องทำงานร่วมกัน สิ่งนี้ไม่ใช่เรื่องเลวร้าย แต่ถือเป็นสถานการณ์ที่สร้างปรากฏการณ์ได้ไม่น้อยเลยทีเดียว
และแม้ว่าเทคโนโลยี AI จะช่วยให้เราสามารถเพิ่มและทดแทนงานของมนุษย์บางส่วนได้ แต่ในขณะเดียวกันก็มีการสร้างงานใหม่ ๆ เกิดขึ้นด้วย และงานใหม่ ๆ เหล่านี้ยังคงต้องใช้แรงงานคนที่มีทักษะสูงกว่า แต่นี่ไม่ใช่ทุกสิ่งที่จะเกิดขึ้น มีคำกล่าวและความคิดเห็นอีกมากมายเกี่ยวกับความสำคัญของ AI และบางทีอาจมองว่าเป็นความเชื่อก็ได้ เช่นเดียวกับทุกสิ่งทุกอย่าง การหาสมดุลระหว่างการมองโลกในแง่บวกและลบย่อมเป็นเรื่องดีสำหรับคุณ เมื่อพูดถึงเรื่อง AI อย่าเชื่อทุกสิ่งที่กล่าวมา แต่ให้ลงทุนในโอกาสที่เป็นไปได้และมีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินธุรกิจของเรา
และสุดท้าย…
“เทคโนโลยี สร้างมาเพื่อให้เกิดประโยชน์ เพิ่มความสะดวกสบาย นำไปช่วยในงานต่าง ๆ แต่ต้องนำไปใช้ให้ถูกวิธี เชื่อว่าจะเกิดประโยชน์มหาศาล แต่ถ้านำไปใช้ไม่ถูกทางก็อาจเกิดอันตรายได้”